ก่อนอื่นเลยครับ สำหรับคนที่ไม่รู้จักเจ้าเครื่องมือนี้ว่ามันมีคืออะไร มีดียังไง Google Analytics เป็นเครื่องมือ(Tools)ตัวนึงที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติของเว็บไซต์ครับ อธิบายง่ายๆก็คือ เจ้า Google Analytics เนี่ย มันจะช่วยเรานับจำนวนคนเข้าดูเว็บไซต์ของเรา แต่มันก็มีความสามารถแฝงอีกมากมายเลยนะ
เช่น นอกจากจะนับจำนวนคนแล้ว มันยังแยกแยะว่าเป็นเพศไหน ช่วงอายุเท่าไหร่ แล้วคนเหล่านั้นดูจากที่ไหน ได้อีกด้วยย เป็นไงล่ะครับเจ้า Google Analytics เนี่ย เจ๋งไปเลยใช่มั๊ยล่ะ (แถมใช้ฟรีไม่เสียกะตังด้วยนะ ที่สำคัญใช้ภาษาไทยได้อีกด้วย)
เช่น นอกจากจะนับจำนวนคนแล้ว มันยังแยกแยะว่าเป็นเพศไหน ช่วงอายุเท่าไหร่ แล้วคนเหล่านั้นดูจากที่ไหน ได้อีกด้วยย เป็นไงล่ะครับเจ้า Google Analytics เนี่ย เจ๋งไปเลยใช่มั๊ยล่ะ (แถมใช้ฟรีไม่เสียกะตังด้วยนะ ที่สำคัญใช้ภาษาไทยได้อีกด้วย)
คงจะต้องบอกว่า Google Analytics กับ Google Webmaster Tools เจ้า 2 เครื่องมือนี้เป็นเหมือน main หรือหัวใจหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์เลยก็ว่าได้นะครับ เพราะ Tools เจ้าอื่นๆที่ทำออกมาขายแข่งกัน ทุกคนต่างก็ต้องมีฟังก์ชันที่เหมือนกันคือ มีการเชื่อมโยงไปยัง Google Analytics และ Google Webmaster Tools แต่ก็จะมีฟังก์ชันอื่นๆเพิ่มเติมเข้าไปด้วย (ไม่งั้นเค้าจะขายได้ไงล่ะเนอะ ฮ่าๆ)
เอาล่ะครับ นอกเรื่องไปเยอะละ คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่ามันทำอะไรได้บ้างงงง
นี่คือหน้าตาของเจ้า Google Analytics ครับจะมี เมนูอยู่ทางด้านซ้าย [กรอบสีแดง] ซึ่งในเมนูจะประกอบไปด้วย
เมนูพวกนี้ก็คือความสามารถในการวิเคราะห์ของเจ้า Google Analytics เนี่ยแหละครับ เดี๋ยวเราจะมาเจาะเข้าไปในแต่ละ Menu ว่ามันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แล้วมันทำอะไรได้บ้างดีกว่าครับ
เมนูพวกนี้ก็คือความสามารถในการวิเคราะห์ของเจ้า Google Analytics เนี่ยแหละครับ เดี๋ยวเราจะมาเจาะเข้าไปในแต่ละ Menu ว่ามันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แล้วมันทำอะไรได้บ้างดีกว่าครับ
อ๊ะ..ลืม [กรอบสีส้ม] ครับ ในกรอบสีส้มคือ วันที่ครับ วันที่ที่เอาไว้กำหนดว่า จะให้เจ้า Google Analytics วิเคราะห์ตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน นั่นแหละครับ (โดยปกติแล้ว Google Analytics จะใช้เวลาวิเคราะห์ประมาณ 2-3 วันนะครับ ไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมผลการวิเคราะห์ของเมื่อวานมันถึงไม่มี ฮ่า ๆ)
เข้ามาในส่วนย่อยๆของเจ้า Google Analytics กันก่อนครับ อย่างที่บอกกันว่าเจ้า Google Analytics เนี่ยใช้วิเคราะห์ใช่มั๊ยล่ะครับ และแน่นอน มันต้องมีการเปรียบเทียบข้อมูลสิ ถึงจะวิเคราะห์ได้
ภายใน [กรอบสีเขียว] คือ จำนวนสถิติที่จะนำไปวิเคราะห์ ซึ่งสามารถสร้างเพิ่มได้จากการกดปุ่มใน [กรอบสีม่วง] และข้อมูลสถิติต่างๆที่จะนำไปวิเคราะห์ก็อยู่ภายใน [กรอบสีน้ำตาล] แต่ถ้าหากว่าตัวหนังสือมันยาวมาก อ่านไม่รู้เรื่องเลย ให้ไปเปลี่ยนรูปแบบได้ที่ปุ่มภายใน [กรอบสีน้ำเงิน]
นี่เป็นการปรับแต่งภายใน Google Analytics นะครับ สามารถใช้ได้เกือบทุก Menu กันเลยทีเดียว
ภายใน [กรอบสีเขียว] คือ จำนวนสถิติที่จะนำไปวิเคราะห์ ซึ่งสามารถสร้างเพิ่มได้จากการกดปุ่มใน [กรอบสีม่วง] และข้อมูลสถิติต่างๆที่จะนำไปวิเคราะห์ก็อยู่ภายใน [กรอบสีน้ำตาล] แต่ถ้าหากว่าตัวหนังสือมันยาวมาก อ่านไม่รู้เรื่องเลย ให้ไปเปลี่ยนรูปแบบได้ที่ปุ่มภายใน [กรอบสีน้ำเงิน]
นี่เป็นการปรับแต่งภายใน Google Analytics นะครับ สามารถใช้ได้เกือบทุก Menu กันเลยทีเดียว
มาเริ่มกันในส่วนของเมนู แดชบอร์ด ครับ
แดชบอร์ดเป็นเหมือนหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากหลายๆเมนูมาไว้ในหน้านี้ครับ ซึ่งข้อมูลจะอยู่ในรูปของวิตเจ็ตแสดงข้อมูลหลายๆรูปแบบ เช่น กราฟ อะไรทำนองนี้ครับ แล้วแต่ข้อมูลที่นำออกมาแสดง
[กรอบสีเขียว] วันที่ที่จะทำการวิเคราะห์สถิติ ที่ได้อธิบายไปแล้วด้านบนครับ
[กรอบสีแดง] เป็นส่วนที่ผมได้อธิบายไปแล้วด้านบน คือส่วนของการนำสถิติหลายๆอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูลครับ ถ้าเลือกหลายๆอัน เส้นในกราฟก็จะเยอะขึ้นครับ (เส้นเยอะขึ้นตามจำนวนของสถิติที่นำมาวิเคราะห์)
[กรอบสีชมพู] ภายในจะเป็นวิตเจ็ตแสดงข้อมูลเชิงสถิติของเมนูต่างๆ เช่น การเข้าชมต่างๆ คนที่เข้าชมไม่ซ้ำกัน อะไรประมาณนี้ครับ
[กรอบสีน้ำเงิน] เป็นปุ่มไว้สำหรับเพิ่มวิตเจ็ตที่จะมาแสดงครับ สามารถเลือกได้ว่าจะนำข้อมูลในส่วนไหนออกมาแสดง
[กรอบสีดำ] แน่นอนครับ ถ้าเรา Copy รูปในเว็บไปมันคงจะไม่งาม เจ้า Google Analytics ก็เลยทำให้เราสามารถส่ง
E-mail หรือ Save กราฟสถิติต่างๆพวกนี้เป็นไฟล์ .pdf (Email ก็ส่งเป็นไฟล์ .pdf เช่นกัน)
[กรอบสีฟ้า] กรณีที่เราไม่ชอบใจรูปลักษณ์แบบนี้ ก็สามารถปรับแต่งหน้าวิตเจ็ตได้สบายๆเลยครับผม
แดชบอร์ดเป็นเหมือนหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากหลายๆเมนูมาไว้ในหน้านี้ครับ ซึ่งข้อมูลจะอยู่ในรูปของวิตเจ็ตแสดงข้อมูลหลายๆรูปแบบ เช่น กราฟ อะไรทำนองนี้ครับ แล้วแต่ข้อมูลที่นำออกมาแสดง
[กรอบสีเขียว] วันที่ที่จะทำการวิเคราะห์สถิติ ที่ได้อธิบายไปแล้วด้านบนครับ
[กรอบสีแดง] เป็นส่วนที่ผมได้อธิบายไปแล้วด้านบน คือส่วนของการนำสถิติหลายๆอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูลครับ ถ้าเลือกหลายๆอัน เส้นในกราฟก็จะเยอะขึ้นครับ (เส้นเยอะขึ้นตามจำนวนของสถิติที่นำมาวิเคราะห์)
[กรอบสีชมพู] ภายในจะเป็นวิตเจ็ตแสดงข้อมูลเชิงสถิติของเมนูต่างๆ เช่น การเข้าชมต่างๆ คนที่เข้าชมไม่ซ้ำกัน อะไรประมาณนี้ครับ
[กรอบสีน้ำเงิน] เป็นปุ่มไว้สำหรับเพิ่มวิตเจ็ตที่จะมาแสดงครับ สามารถเลือกได้ว่าจะนำข้อมูลในส่วนไหนออกมาแสดง
[กรอบสีดำ] แน่นอนครับ ถ้าเรา Copy รูปในเว็บไปมันคงจะไม่งาม เจ้า Google Analytics ก็เลยทำให้เราสามารถส่ง
E-mail หรือ Save กราฟสถิติต่างๆพวกนี้เป็นไฟล์ .pdf (Email ก็ส่งเป็นไฟล์ .pdf เช่นกัน)
[กรอบสีฟ้า] กรณีที่เราไม่ชอบใจรูปลักษณ์แบบนี้ ก็สามารถปรับแต่งหน้าวิตเจ็ตได้สบายๆเลยครับผม
ในส่วนของเมนู ทางลัด และ กิจกรรมอัจฉริยะ จะเป็นการกำหนดส่วนบุคคลนะครับ ผมขอไม่พูดถึงในส่วนนี้
เรามาต่อกันในส่วนของเมนู ผู้ชม กันครับ
ปกติเวลาที่เราเข้ามาในหน้า Google Analytics ครั้งแรก มันจะปรากฏหน้านี้ก่อนเลยครับ (ผมเดาว่า คนเราต้องการดูว่ามีคนเข้าชมเว็บไซต์เท่าไหร่ เป็นอย่างแรกล่ะมั้งครับ) ในเมนูผู้ชมนี้ ก็แน่นอนครับว่าเป็นส่วนที่บอกการเข้าชมเว็บไซต์ของเรา แต่มันสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลายมาก ตามที่ผมได้เกริ่นในด้านบนนั่นเองครับ เรามาดูกันเลยครับว่ามันทำอะไรได้บ้าง
[กรอบสีเหลือง] เน้นเป็นพิเศษสำหรับเมนูนี้เลยครับ ภายในกรอบนี้จะมีเมนูย่อยๆออกมาอีกมากมาย ดังนี้ครับ
[กรอบสีแดง] เป็นกราฟที่แสดงข้อมูล ในรูปจะมี 2 กรอบ จะเป็นกราฟเส้นกับกราฟวงกลมนะครับ มีหลายรูปแบบเลย
[กรอบสีเขียว] ใช้กำหนดว่าจะแสดงเป็นแบบ รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ครับ
[กรอบสีน้ำเงิน] ภายในกรอบนี้จะมีฟังก์ชัน 4 อย่างด้วยกัน
ปกติเวลาที่เราเข้ามาในหน้า Google Analytics ครั้งแรก มันจะปรากฏหน้านี้ก่อนเลยครับ (ผมเดาว่า คนเราต้องการดูว่ามีคนเข้าชมเว็บไซต์เท่าไหร่ เป็นอย่างแรกล่ะมั้งครับ) ในเมนูผู้ชมนี้ ก็แน่นอนครับว่าเป็นส่วนที่บอกการเข้าชมเว็บไซต์ของเรา แต่มันสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลายมาก ตามที่ผมได้เกริ่นในด้านบนนั่นเองครับ เรามาดูกันเลยครับว่ามันทำอะไรได้บ้าง
[กรอบสีเหลือง] เน้นเป็นพิเศษสำหรับเมนูนี้เลยครับ ภายในกรอบนี้จะมีเมนูย่อยๆออกมาอีกมากมาย ดังนี้ครับ
[กรอบสีแดง] เป็นกราฟที่แสดงข้อมูล ในรูปจะมี 2 กรอบ จะเป็นกราฟเส้นกับกราฟวงกลมนะครับ มีหลายรูปแบบเลย
[กรอบสีเขียว] ใช้กำหนดว่าจะแสดงเป็นแบบ รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ครับ
[กรอบสีน้ำเงิน] ภายในกรอบนี้จะมีฟังก์ชัน 4 อย่างด้วยกัน
มาต่อกันในส่วนของเมนู การกระทำ กันบ้างครับ ในส่วนนี้ผมขออธิบายเพียงสั้นๆนะครับ เพราะ เป็นส่วนในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าคนที่เข้ามาในเว็บไซต์เรานั้น เข้ามาจากแหล่งใดบ้าง และเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นจากทั้งหมด ซึ่งเจ้า Google Analytics ก็ได้แบ่งช่องทางการเข้าถึงเว็บไซต์เราออกเป็น 4 ทางด้วยกัน ได้แก่
มันสามารถตั้งเป้าหมายได้ด้วยนะครับว่า เราอยากให้มีคนเข้ามาจากช่องทางไหนเท่าไหร่บ้างอะไรประมาณนี้ แล้ว Google Analytics มันจะบอกว่าเราใกล้สำเร็จรึยัง ฮ่า ๆ
มันสามารถตั้งเป้าหมายได้ด้วยนะครับว่า เราอยากให้มีคนเข้ามาจากช่องทางไหนเท่าไหร่บ้างอะไรประมาณนี้ แล้ว Google Analytics มันจะบอกว่าเราใกล้สำเร็จรึยัง ฮ่า ๆ
ส่วนต่อมา จะเป็นส่วนของเมนู พฤติกรรม ครับ ซึ่งผมก็จะขออธิบายสั้นๆ เช่นกัน ในส่วนของเมนูพฤติกรรมนั้นจะเน้นไปในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงที่ว่าในแต่ละหน้า(page)ของเว็บไซต์เรานั้นมีจำนวนคนเข้าชมกี่คน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็น และการเข้าชมนั้นมีเวลาเฉลี่ยในการเข้าชมแต่หน้า(page) จำนวนกี่นาที อะไรประมาณนี้แหละครับ
ในเมนูย่อยจะมีเมนูที่พิเศษและแตกต่างจากเพื่อนเลยคือ โฟลวพฤติกรรม อาจจะดูยากสักนิด เนื่องจากถ้าเว็บไซต์เรามีจำนวนหน้า(page)เยอะ มันจะขึ้นมาแบบยั้วเยี๊ยเลยทีเดียวครับ ฮ่าๆ และก็มีส่วนของ AdSense มาให้ด้วยนะครับ ยังไงก็ไปลองเล่นกันดูได้ครับผม
ในเมนูย่อยจะมีเมนูที่พิเศษและแตกต่างจากเพื่อนเลยคือ โฟลวพฤติกรรม อาจจะดูยากสักนิด เนื่องจากถ้าเว็บไซต์เรามีจำนวนหน้า(page)เยอะ มันจะขึ้นมาแบบยั้วเยี๊ยเลยทีเดียวครับ ฮ่าๆ และก็มีส่วนของ AdSense มาให้ด้วยนะครับ ยังไงก็ไปลองเล่นกันดูได้ครับผม
ในส่วนสุดท้ายจะเป็นเมนู Conversation ซึ่งเป็นเมนูที่จะใช้กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ของเรานะครับ ซึ่งผมขอไม่พูดถึงในส่วนนี้นะครับ เนื่องจากเป้าหมายของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไปครับ
*หมายเหตุ :: บทความนี้เขียนขึ้นมาจากสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ